Menu Close

ฉี่สุนัขหรือเด็กเกเร เป็นสาเหตุให้เสาไฟจราจรล้มสี่แยกที่มิเอะ

ฉี่สุนัขโค่นเสาไฟจราจร

ตำรวจญี่ปุ่นสืบสวนพบร่องรอยคราบที่เสาเหล็กไฟจราจรตรงสี่แยกของเมืองสุซุกะ (Suzuka) จังหวัดมิเอะ (Mie) อาจจะเป็นฉี่สุนัขหรอ? นักวิจัยได้ตรวจสอบพบว่าหากสุนัขฉี่สะสมเป็นเวลานานเสาก็มีโอกาสหักล้มได้

ฉี่สุนัขหรือเด็กเกเร? ที่เป็นสาเหตุของเสาไฟจราจรหักล้มลงสี่แยกมิเอะ?

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เสาสัญญาณไฟจราจรตรงสี่แยกในเมืองซูซูกะจังหวัดมิเอะ ล้มลงมา โชคดีที่ไม่ได้มีใครได้รับบาดเจ็บ เสาเหล็กสูง 6 เมตรหักงอโค่นล้ม แต่ใช้เวลาอันรวดเร็วในการแก้ไขปรับปรุงให้กลับมาใช้ได้ดั่งเดิม

เสาเหล็กของไฟจราจรญี่ปุ่นมีความทนทานสูง

โดยปกติพื้นฐานโครงสร้างของเสาไฟคาดว่าจะมีอายุการใช้งานอยู่ประมาณ 50 ปี ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอันใหม่ แต่เสาต้นนี้มีการติดตั้งไว้เมื่อปี 1997 ทำให้อายุการใช้งานเพียง 23 ปี ยังใช้งานได้ไม่ถึงครึ่งทางของความทนทานที่การันตีไว้ว่าใช้ได้ถึง 50 ปี ก็เกิดการล้มหักโค่นลง

เมื่อตำรวจพบเห็นเหตุการณ์สำคัญ สุนัขกำลังฉี่! ▼

ฉี่สุนัข-04

เห็นได้ชัดว่ามีบางอย่างผิดพลาดทำให้เสาไฟจราจรนี้อายุการใช้งานหมดก่อนกำหนด ในระหว่างสอบสวน ณ. ที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจสังเกตเห็นชาวบ้านจำนวนมากที่เดินผ่านเสาไฟจราจร ขณะกำลังพาสุนัขไปเดินเล่น ปรากฎว่าพบหลักฐานสำคัญดูเหมือนจะเป็นคาบๆ อะไรซักอย่างตรงเสาไฟ ตำรวจเริ่มสงสัยว่าอาจจะมีความเชื่อมโยงกัน

คงไม่มีคาดเดาคิดว่าฉี่ของสุนัขจะทำให้เสาเหล็กหักได้

ดังนั้นห้องปฏิบัติการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของตำรวจจังหวัดมิเอะจึงตัดสินใจทำการทดสอบเพื่อตรวจหายูเรีย ในบริเวณนั้น เริ่มจากฝั่งตรงข้ามถนนที่มีเจ้าของพาสุนัขเดินเล่นสัญจรน้อย พบร่องรอยยูเรียบนเสาไฟจราจรประมาณแปดเท่า แต่ที่น่าตกใจยิ่งกว่านั้นคือผลจากการตรวจสอบพื้นที่ที่เจ้าของพาสุนัขเดินผ่านบ่อยๆ ซึ่งจุดที่สุนัขชอบพบปริมาณยูเรียถึง 42 เท่า เมื่อเทียบกับจุดที่ไม่เคยโค่นล้ม

พลังฉี่หมาชิบะ

อาจเป็นเพราะฉี่สุนัขจริงๆ คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสาหักล้มลง

นักวิจัยเชื่อว่ายูเรียน่าจะเร่งอัตราการกัดกร่อนโลหะ โดยเฉพาะที่บริเวณฐานเสาไฟจราจรที่ถูกฉี่สุนัขบ่อยๆ จนให้เหล็กอ่อนตัวและหักโค่นล้มในที่สุด

โคจิ ทาคาฮาชิ หัวหน้าห้องแล็บอธิบายว่า ถึงแม้ปริมาณฉี่แต่ละครั้งจะน้อย แต่การฉี่ซ้ำหลายๆ ครั้งเป็นระยะเวลาอันยาวนานหลายปี อาจจะส่งผลเสียหายเป็นอย่างมากต่อโครงสร้างเหล็กเสาไฟจราจร

สุดท้ายทางตำรวจแนะนำว่า หากเจ้าของที่จะพาสุนัขออกมาเดินเล่นนอกบ้านก็ควรให้สุนัขทำธุระฉี่ให้เสร็จก่อนพาออกมาจากบ้านหรือจะเก็บไว้ไปฉี่ที่บ้านหลังจากสุนัขเดินเล่นเสร็จแล้วก็ได้ (^^”)

แน่นอนมันทำได้ยาก ทางออกที่ดีคือ เจ้าของก็ควรพกขวดน้ำไปด้วยพร้อมกับพาสุนัขเดินเล่น เพื่อล้างที่เสาไฟจราจรเพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก ฉี่สุนัขก็ไม่อาจจะโค่นเสาไฟจราจรลงได้ และเหตุการณ์แบบนี้คงจะไม่เกิดขึ้นแน่นอนค่ะ

สุนัขฉี่ใส่เสาเหล็กไฟจราจรทุกวัน ก็คงหักล้มสักวัน

ดั่งสุภาษิตไทยแหละนะ “น้ำหยดลงหินทุกวัน หินมันยังกร่อน …”

ชิบะอินุหมาญี่ปุ่น

ที่มา soranews24 และ NHK

บทความแนะนำ